เมนู

ยากข่มได้ยาก. ความเป็นผู้ประสงค์จะกล่าวท่านเรียกว่าปฏิญาณ. ธรรม 5
อย่างนี้ ระงับยาก ไม่ใช่ระงับได้ง่าย แต่สามารถระงับได้ด้วยปัจจเวกขณะ
(การพิจารณา) และอนุสาสนะ (การสั่งสอน) อันสมควรโดยอุบาย โดยเหตุ
ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาทุพพิโนทยสูตรที่ 10
จบสัทธัมมวรรควรรณนาที่ 1

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. สัทธัมมนิยามสูตร 3 สูตร 4. สัทธัมมสัมโมสสูตร 3 สูตร
7. ทุกถาสูตร 8. สารัชชสูตร 9. อุทายิสูตร 10. ทุพพิโนทยสูตร
และอรรถกถา. ํ

อาฆาตวรรคที่ 2


1. ปฐมอาฆาตวินยสูตร


ว่าด้วยธรรมระงับความอาฆาต 5 ประการ


[161] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นที่ระงับความอาฆาตซึ่งเกิดขึ้น
แก่ภิกษุโดยประการทั้งปวง 5 ประการนี้ 5 ประการเป็นไฉน ? คือ ความ
อาฆาตพึงบังเกิดขึ้นในบุคคลใด พึงเจริญเมตตาในบุคคลนั้น 1 ความอาฆาต
พึงบังเกิดขึ้นในบุคคลใด พึงเจริญกรุณาในบุคคลนั้น 1 ความอาฆาตพึงบังเกิด
ขึ้นในบุคคลใด พึงเจริญอุเบกขาในบุคคลนั้น 1 ความอาฆาตพึงบังเกิดขึ้นใน
บุคคลใด พึงถึงการไม่นึกไม่ใฝ่ใจในบุคคลนั้น 1 ความอาฆาตพึงบังเกิดขึ้น
ในบุคคลใด พึงนึกถึงความเป็นผู้มีกรรมเป็นของ ๆ ตนให้มั่นในบุคคลนั้นว่า
ท่านผู้นี้เป็นผู้มีกรรมเป็นของ ๆ ตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด
มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง จักทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม
จักเป็นทายาท (ผู้รับผล) ของกรรมนั้น ดังนี้ 1 ภิกษุพึงระงับความอาฆาต
ในบุคคลนั้น ด้วยประการฉะนี้.
จบปฐมอาฆาตวินยสูตรที่ 1